12-146 ความเห็นของปุถุชนและอริยสาวก



พระไตรปิฎก


ความเห็นของปุถุชนและอริยสาวก
{๒๘๑} [๒๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิฏฐาน A ๖ ประการนี้
ทิฏฐิฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง
คือ ปุถุชน B ในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ C ทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่พบสัตบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
๑. จึงพิจารณาเห็นรูปว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา D’
๒. จึงพิจารณาเห็นเวทนาว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
๓. จึงพิจารณาเห็นสัญญาว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
๔. จึงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
๕. จึงพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว อารมณ์ที่ทราบแล้ว ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วย
ใจว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
๖. จึงพิจารณาเห็นทิฏฐิฏฐานที่เป็นไปว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้น ตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรง อยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นแลว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ พบสัตบุรุษทั้งหลาย
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
๑. จึงพิจารณาเห็นรูปว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๒. จึงพิจารณาเห็นเวทนาว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๓. จึงพิจารณาเห็นสัญญาว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๔. จึงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๕. จึงพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว อารมณ์ที่ทราบแล้ว ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วย
ใจว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๖. จึงพิจารณาทิฏฐิฏฐานที่เป็นไปว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้ว จักเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นแล’ ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้งในเมื่อไม่มีเหตุน่าสะดุ้ง E คือ
ภัยและตัณหา”
เชิงอรรถ
A ทิฏฐิฏฐาน เป็นชื่อของทิฏฐิ เพราะเป็นเหตุแห่งสักกายทิฏฐิที่ยิ่งกว่าทิฏฐิเกิดขึ้นก่อน และเป็นเหตุแห่ง สัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นชื่อของอารมณ์ คือ ขันธ์ ๕ และรูปารมณ์เป็นต้นบ้าง เป็นชื่อของปัจจัย คือ อวิชชา ผัสสะ สัญญา เป็นต้นบ้าง (ม.มู.อ. ๒/๒๔๑/๑๖, ม.มู.ฏีกา ๒/๒๔๑/๑๑๐)
B-C ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒ (มูลปริยายสูตร) หน้า ๒ ในเล่มนี้
D การเห็นว่า “นั่นของเรา” เป็นอาการของตัณหา, การเห็นว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอาการของมานะ, การเห็นว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอาการของทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๑๔๑/๑๗)
E เหตุน่าสะดุ้ง ในที่นี้หมายถึงภัยและตัณหา (ม.มู.อ. ๒/๒๔๑/๑๘)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.