12-124 กุศลวิตก 3



พระไตรปิฎก


กุศลวิตก ๓
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘เนกขัมมวิตกนี้
เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น เป็นเหตุทำปัญญาให้เจริญ
ไม่เป็นส่วนแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ถ้าเราจะพึงตรึกตรองถึง
เนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย
หากเราจะพึงตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะ
เกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นตลอดทั้งคืน
ทั้งวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย แต่เมื่อเราตรึก
ตรองนานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ
ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราปรารถนาไว้ว่า ‘จิตของเรา
อย่าฟุ้งซ่านอีกเลย’
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อพยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น เรานั้นย่อม
ทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็น
ไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง
ตนและผู้อื่น เป็นเหตุทำปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นส่วนแห่งความคับแค้น เป็นไป
เพื่อนิพพาน ถ้าเราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืน เราก็จักมองไม่
เห็นภัยอันจะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย หากเราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตก
นั้นอยู่ตลอดวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย หาก
เราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดทั้งคืนทั้งวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอัน
จะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย แต่เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็
เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่าง
จากสมาธิ เรานั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราปรารถนาไว้ว่า ‘จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปในวิตก
นั้น ๆ มาก ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก ถ้า
ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงอพยาบาทวิตกมาก ฯลฯ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตก
มาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้น
ก็จะน้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก
ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคต้องคอยระวัง โคทั้งหลายในที่ใกล้บ้าน
ทุก ๆ ด้าน เมื่อเขาไปสู่โคนต้นไม้หรือที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘นั้นฝูงโค’
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘เหล่านี้เป็นธรรม A (คือกุศลวิตก)’
{๒๕๓} [๒๑๑] ภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว
มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือน มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์
เป็นหนึ่ง เรานั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน
ที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เชิงอรรถ
A ธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมคือสมถะและวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๑/๒๑๐/๔๑๒)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.