12-033 อุปกิเลสแห่งจิต 16 ชนิด



พระไตรปิฎก


อุปกิเลสแห่งจิต ๑๖ ชนิด
{๙๓} [๗๑] ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส A แห่งจิต อะไรบ้าง คือ
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ(ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๒. พยาบาท(ความคิดปองร้ายผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๓. โกธะ(ความโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๔. อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๕. มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๖. ปฬาสะ(ความตีเสมอ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๗. อิสสา(ความริษยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๘. มัจฉริยะ(ความตระหนี่) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๙. มายา(มารยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๑๐. สาเถยยะ(ความโอ้อวด) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๑๑. ถัมภะ(ความหัวดื้อ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๑๒. สารัมภะ(ความแข่งดี) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๑๓. มานะ(ความถือตัว) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๑๔. อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๑๕. มทะ(ความมัวเมา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
๑๖. ปมาทะ(ความประมาท) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
{๙๔} [๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดดังนี้ว่า
‘อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘พยาบาท เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละพยาบาทอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘โกธะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละโกธะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ … ‘อุปนาหะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอุปนาหะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ … ‘มักขะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมักขะอันเป็นอุปกิเลสแห่ง
จิตได้ … ‘ปฬาสะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปฬาสะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ …
‘อิสสา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอิสสาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มัจฉริยะ
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมัจฉริยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มายา เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมายาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘สาเถยยะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสาเถยยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘ถัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละถัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘สารัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสารัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มานะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘อติมานะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอติมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มทะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมทะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
ภิกษุนั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘ปมาทะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปมาทะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
{๙๕} [๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุรู้ชัดดังนี้ว่า
‘อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘พยาบาท เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละพยาบาทอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘โกธะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละโกธะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ … ‘อุปนาหะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอุปนาหะอันเป็นอุปกิเลส
แห่งจิตได้ … ‘มักขะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมักขะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
… ‘ปฬาสะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปฬาสะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ …
‘อิสสา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอิสสาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มัจฉริยะ
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมัจฉริยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มายา เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมายาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘สาเถยยะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสาเถยยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘ถัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละถัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘สารัมภะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสารัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มานะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘อติมานะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอติมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ … ‘มทะ เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมทะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
ภิกษุผู้รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ปมาทะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปมาทะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
[๗๔] ในกาลนั้น ภิกษุนั้นจะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค‘B จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็น
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ และ
จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้
ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ
๘ บุคคล C พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’
[๗๕] เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นสละ คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งส่วนแห่งกิเลสได้แล้ว
เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วย
ธรรมว่า ‘เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า’ เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติ
ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น …‘เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรม’ เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ
ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า ‘เรามีความเลื่อมใส
แน่วแน่ในพระสงฆ์’ เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอรู้ว่า ‘เพราะเราสละ
คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งส่วนแห่งกิเลสได้แล้ว’ จึงได้ความรู้แจ้งอรรถ ความ
รู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติ
ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น
{๙๖} [๗๖] ภิกษุนั้นมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉัน
อาหารบิณฑบาตข้าวสาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอย่าง
การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย ผ้าที่สกปรก
เปรอะเปื้อน จะเป็นผ้าที่สะอาด หมดจดได้ เพราะอาศัยน้ำใสสะอาด หรือทองคำ
จะเป็นทองคำบริสุทธิ์ผุดผ่องได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉันอาหารบิณฑบาตข้าว
สาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอย่าง การฉันบิณฑบาตของ
ภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย
{๙๗} [๗๗] ภิกษุนั้นมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ … ทิศที่ ๒ … ทิศที่ ๓ …
ทิศที่ ๔ … ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าใน
ที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑
… ทิศที่ ๒ … ทิศที่ ๓ … ทิศที่ ๔ … ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไป
ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
[๗๘] ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวมีอยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรม
เครื่องสลัดออกจากกิเลส D ที่ยิ่งกว่าสัญญานี้ E ก็มีอยู่’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้อาบ
สะอาดแล้วด้วยการอาบสะอาดในภายใน”
เชิงอรรถ
A อุปกิเลส หมายถึงกิเลสที่จรมาด้วยอำนาจโลภะ โทสะ และโมหะ แล้วทำจิตเดิม(ภวังคจิต)ที่แม้ปกติก็
บริสุทธิ์อยู่แล้วให้ต้องเศร้าหมอง (ม.มู.อ. ๑/๗๑/๑๘๑, อง.เอกก.อ. ๑/๔๙/๕๓)
B วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, องฺ.ทุก.(แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๗
C ๘ บุคคล ได้แก่
(๑) บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
(๒) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(๓) บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี
(๔) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(๕) บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี
(๖) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(๗) บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์
(๘) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙)
D ธรรมเครื่องสลัดออกจากกิเลส ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.มู.อ. ๑/๗๘/๑๘๙)
E สัญญา ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารสัญญา (ม.มู.อ. ๑/๗๘/๑๘๙)

บาลี

อรรถกถา

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.