12-022 ภยเภรวสูตร ความขลาดกลัว
พระไตรปิฎก
๔. ภยเภรวสูตร
ว่าด้วยความขลาดกลัว
{๒๗} [๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
{๒๘} “ข้าแต่ท่านพระโคดม กุลบุตรทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เจาะจงท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเหล่านั้น เป็นผู้มี
อุปการะมาก เป็นผู้แนะนำให้ถือตาม ชุมชนนั้นถือเอาแบบอย่างท่านพระโคดมหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น กุลบุตรทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเจาะจงเรา
เราเป็นหัวหน้าของพวกเขา เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้แนะนำให้ถือตาม ชุมชน
นั้นถือเอาแบบอย่างเรา”
{๒๙} ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบ A อยู่ลำบาก ทำวิเวก B ได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยวก็อภิรมย์
ได้ยาก ป่าทั้งหลายเห็นจะชักนำจิตของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ C ให้หวาดหวั่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ อยู่ลำบาก ทำวิเวกได้ยาก
ในการอยู่โดดเดี่ยวก็อภิรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายเห็นจะชักนำจิตของภิกษุผู้ยังไม่ได้
สมาธิให้หวาดหวั่น”
เชิงอรรถ
A ป่าโปร่ง (อรญฺญ) หมายถึงป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู ป่าทึบ (วนปตฺถ)
หมายถึงสถานที่ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป (ม.มู.อ. ๑/๓๔/๑๒๑, องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐)
B วิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(สงัดกาย) (ม.มู.อ. ๑/๓๔/๑๒๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
C สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๓๔/๑๒๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๙๙/๓๗๐)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต