12-003 กำหนดภูมิตามนัยที่ 2 ว่าด้วยเสขบุคคล



พระไตรปิฎก


กำหนดภูมิตามนัยที่ ๒ ว่าด้วยเสขบุคคล
{๓} [๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดยังเป็นเสขบุคคล A ไม่ได้บรรลุอรหัตตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวี
โดยความเป็นปฐวี B ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวี
อย่ากำหนดหมายในปฐวี อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี อย่ากำหนดหมายปฐวีว่า
เป็นของเรา อย่ายินดีปฐวี
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาควรกำหนดรู้’
ฯลฯ รู้ยิ่งอาโป … เตโช … วาโย … ภูต … เทวดา … ปชาบดี …
พรหม … อาภัสสรพรหม … สุภกิณหพรหม … เวหัปผลพรหม … อภิภูสัตว์ …
อากาสานัญจายตนพรหม … วิญญาณัญจายตนพรหม … อากิญจัญญายตนพรหม
… เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม … รูปที่ตนเห็น … เสียงที่ตนได้ยิน … อารมณ์
ที่ตนทราบ … อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง … ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน …
ความที่กามจิตต่างกัน … สักกายะทั้งปวง … รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว อย่ากำหนดหมายซึ่งนิพพาน อย่า
กำหนดหมายในนิพพาน อย่ากำหนดหมายนอกนิพพาน อย่ากำหนดหมาย
นิพพานว่าเป็น ของเรา อย่ายินดีนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เรากล่าวว่า ‘เพราะเขาควรกำหนดรู้’
กำหนดภูมิตามนัยที่ ๒ ว่าด้วยเสขบุคคล จบ
เชิงอรรถ
A เสขบุคคล หมายถึงบุคคลผู้ที่ยังต้องศึกษา ๓ จำพวก ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ
พระอนาคามีผู้ยังต้องฝึกอบรมในไตรสิกขา คือ (๑) อธิสีลสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องศีล (๒) อธิจิตตสิกขา
ฝึกอบรมในเรื่องจิต (สมาธิ) (๓) อธิปัญญาสิกขา ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา (ม.มู.อ. ๑/๗/๔๔, องฺ.ติก.(แปล)
๒๐/๘๖/๓๑๒)
B รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี หมายถึงรู้ด้วยสัญญาที่แตกต่างจากปุถุชน หรือรู้ด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง กล่าว
คือญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา มีคำอธิบายว่า เมื่อปล่อยวางความเป็นปฐวีอย่างนี้
ย่อมรู้ยิ่งปฐวีนั้นว่า ‘ไม่เที่ยง’ บ้าง ว่า ‘เป็นทุกข์’ บ้าง ว่า ‘เป็นอนัตตา’ บ้าง (ม.มู.อ. ๑/๗/๔๕-๔๖,
ม.มู.ฏีกา ๑/๗/๑๑๗)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.