10-100 วิธีการบรรลุโอกาส 3 ประการ
พระไตรปิฎก
วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ
{๒๐๑}[๒๘๘] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุ
โอกาส A (ช่องว่าง) ๓ ประการ ก็เพียงเพื่อให้ถึงความสุข
วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
{๒๐๒} ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม เกี่ยวข้องด้วยอกุศล-
ธรรมอยู่ ต่อมาเขาฟังธรรมของพระอริยะ มนสิการโดย
แยบคาย B ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรม
ของพระอริยะ อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย อาศัยการปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วย
อกุศลธรรม สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น
แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรม
ท่านผู้เจริญ ความปราโมทย์ เกิดจากความเบิกบานใจ แม้ฉันใด
สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น (จากความบันเทิงใจ)
แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรมอยู่
ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๑ นี้
เพื่อให้ถึงความสุข
{๒๐๓} ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้มีกายสังขาร C อย่างหยาบยังไม่สงบระงับ
มีวจีสังขาร D อย่างหยาบยังไม่สงบระงับ มีจิตตสังขาร E อย่าง
หยาบยังไม่สงบระงับ ต่อมา เขาฟังธรรมของพระอริยะ
มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัย
การฟังธรรมของพระอริยะ อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย
อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม กายสังขารอย่างหยาบ
ย่อมสงบระงับ วจีสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ จิตตสังขาร
อย่างหยาบย่อมสงบระงับ เพราะกายสังขารอย่างหยาบสงบ
ระงับ วจีสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ จิตตสังขารอย่าง
หยาบย่อมสงบระงับ สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อม
เกิดขึ้นแก่เขา ท่านผู้เจริญ ความปราโมทย์เกิดจากความ
เบิกบานใจ แม้ฉันใด ท่านผู้เจริญ เพราะกายสังขารอย่างหยาบ
สงบระงับ เพราะวจีสังขารอย่างหยาบสงบระงับ เพราะจิตต-
สังขารอย่างหยาบสงบระงับ สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุข
ย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาส
ที่ ๒ นี้ เพื่อให้ถึงความสุข
{๒๐๔} ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นกุศล’
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นอกุศล’ ไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งมีโทษ’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่ง
ควรเสพ’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งเลว’ ไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งประณีต’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้เป็นสิ่งดำ สิ่งขาว และสิ่งมีส่วนเปรียบ F’ ต่อมาเขาฟังธรรม
ของพระอริยะ มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่
ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยะ อาศัยการมนสิการ
โดยแยบคาย อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นกุศล’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้เป็นอกุศล’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่ง
มีโทษ’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’ ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งควรเสพ’ ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งเลว’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่ง
ประณีต’ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งดำ สิ่งขาว
และสิ่งมีส่วนเปรียบ’ เมื่อเขารู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละอวิชชาได้
วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะอวิชชาดับลง เพราะวิชชาเกิดขึ้น สุข
ย่อมเกิดขึ้น โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น ท่านผู้เจริญ ความ
ปราโมทย์เกิดจากความเบิกบานใจ แม้ฉันใด เพราะอวิชชาดับลง
เพราะวิชชาเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น โสมนัส ยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น
ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาส
ที่ ๓ นี้ เพื่อให้ถึงความสุข
ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการนี้แล เพื่อให้ถึงความสุข’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า
เชิงอรรถ
A โอกาส ในที่นี้หมายถึงภาวะที่ปลอดจากกิเลสต่าง ๆ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ และอรหัตตมรรค แต่ละภาวะก็ปลอดจากกิเลสต่างกัน เช่น ปฐมฌานปลอดจากนิวรณ์ ๕ จตุตถฌาน ปลอดจากสุขและทุกข์ วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๑ หมายถึงการบรรลุปฐมฌาน วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๒ หมายถึงการบรรลุจตุตถฌาน วิธีการบรรลุโอกาสที่ ๓ หมายถึงการบรรลุอรหัตตมรรค (ที.ม.อ. ๒๘๘/ ๒๕๕, องฺ.นวก.ฏีกา. ๓/๓๗/๓๖๙)
B มนสิการโดยแยบคาย หมายถึงการคิดถูกวิธี (อุปายมนสิการ) และการคิดถูกทาง (ปถมนสิการ) (ที.ม.อ.
๒๘๘/๒๕๔)
C กายสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งกาย คือ ลมหายใจเข้า-ออก (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕, ที.ม.ฏีกา ๒/๒๘๘/๒๖๔)
D วจีสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งวาจา คือ วิตก วิจาร (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕, ที.ม.ฏีกา ๒/๒๘๘/๒๖๔)
E จิตตสังขาร แปลว่าสภาพปรุงแต่งจิต คือ เวทนา สัญญา (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕, ที.ม.ฏีกา ๒/๒๘๘/๒๖๔)
F สิ่งมีส่วนเปรียบ ในที่นี้หมายถึงสิ่งทั้งหลาย ยกเว้นนิพพานเรียกว่า สิ่งมีส่วนเปรียบ (ที.ม.อ. ๒๘๘/๒๕๕)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต