10-028 วิโมกข์ 8 ประการ



พระไตรปิฎก


วิโมกข์ ๘ ประการ
{๖๖}[๑๒๙] อานนท์ วิโมกข์ A ๘ ประการนี้
วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย B นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑
๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก C นี้เป็น
วิโมกข์ประการที่ ๒
๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม‘ D นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓
๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔
๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕
๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๖
๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗
๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘
อานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล
[๑๓๐] อานนท์ ภิกษุผู้เข้าวิโมกข์ ๘ ประการนี้ โดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้าง
ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าหรือออกได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามชนิด
สมาบัติที่ต้องการ และตามระยะเวลาที่ต้องการ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุนี้
เราเรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต E อานนท์ อุภโตภาควิมุตติอย่างอื่นที่ดีกว่าหรือประณีต
กว่าอุภโตภาควิมุตตินี้ ไม่มี”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
มหานิทานสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, ๓๕๘/๒๗๑-๒๗๒, ม.ม. ๑๓/๒๔๘/๒๒๓, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๖/๓๖๘-๓๖๙
B มีรูป หมายถึงได้รูปฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม เห็นรูปทั้งหลาย หมายถึง เห็นรูปฌาน ๔ (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓)
C เห็นรูปทั้งหลายภายนอก หมายถึงเห็นรูปทั้งหลายมีนีลกสิณเป็นต้นด้วยญาณจักขุ (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒- ๑๑๓)
D ผู้น้อมใจไปว่างาม หมายถึงผู้เจริญวัณณกสิณ กำหนดสีที่งาม (ที.ม.อ. ๑๒๙/๑๑๒-๑๑๓
E ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต คือ ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมามากจนได้สมาบัติ ๘ แล้วจึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป ชื่อว่าหลุดพ้น ๒ ส่วน คือ (๑) หลุดพ้นจากรูปกายด้วย อรูปสมาบัติ (วิกขัมภนะ) (๒) หลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค (สมุจเฉทะ) (ที.ม.อ. ๑๓๐/๑๑๓)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.