08-050 เภสัชชสิกขาบท



พระไตรปิฎก


๓. เภสัชชสิกขาบท
{๕๑} [๔๖] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับประเคนเภสัช
แล้วเก็บไว้เกิน ๗ วัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้เกิน ๗ วัน
ในเภสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน A ฯลฯ
เชิงอรรถ
A ทางที่เกิดของอาบัติเรียกว่า “สมุฏฐาน” มี ๖ สมุฏฐาน คือ
๑. กาย
๒. วาจา
๓. กายกับวาจา
๔. กายกับจิต
๕. วาจากับจิต
๖. กายวาจากับจิต
อาบัติทั้งหมดที่เกิดในแต่ละสมุฏฐาน แบ่งเป็น ๑๓ กลุ่ม คือ
๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
๒. อทินนาทานสมุฏฐาน
๓. สัญจริตตสมุฏฐาน
๔. สมนุภาสนสมุฏฐาน
๕. กฐินสมุฏฐาน
๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
๗. ปทโสธัมมสมุฏฐาน
๘. อัทธานสมุฏฐาน
๙. เถยยสัตถสมุฏฐาน
๑๐. ธัมมเทสนาสมุฏฐาน
๑๑. ภูตาโรจนสมุฏฐาน
๑๒. โจริวุฏฐานาปนสมุฏฐาน
๑๓. อนนุญญาตสมุฏฐาน
(ดูข้อ ๒๕๘-๒๗๐, วิ.อ. ๓/๒๕๘-๒๖๗/๔๒๓-๔๓๔, กงฺขา.อ. ๑๓๖-๑๓๗) สิกขาบทนี้เป็นกฐินสมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานที่ ๓ คือกายกับวาจาและสมุฏฐานที่ ๖ คือกายวาจากับจิต (กงฺขา.อ. ๑๓๖)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.