02-120 พุทธประเพณี



พระไตรปิฎก


พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
ขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งอยู่ไม่ห่าง พระ
ผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ผ้าบังสุกุลของเธอน่าพอใจหรือ”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ผ้าบังสุกุลของข้าพระพุทธเจ้าไม่น่าพอใจ พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ แล้วทำไมเธอทรงผ้าบังสุกุลเล่า”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “พระอุปัชฌาย์ของข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล
แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ต้องเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลตาม พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
บริษัทนี้ของเธอน่าเลื่อมใส เธอแนะนำบริษัทอย่างไร”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าบอกผู้มาขออุปสมบท
กับข้าพระพุทธเจ้าว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าเธอจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ฉันก็จะให้เธออุปสมบท’ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้า ข้า
พระพุทธเจ้าก็ให้อุปสมบท ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้อุปสมบท ข้าพระพุทธเจ้าบอก
ภิกษุที่มาขอนิสัยว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ฉันก็จะให้นิสัยแก่ท่าน’ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะให้นิสัย ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้นิสัย ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัท
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ อุปเสนะ เธอแนะนำบริษัทดีแล้ว
เธอรู้กติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้กติกาของสงฆ์ใน
กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีตั้งกติกากันว่า พระผู้มีพระภาคมี
พระประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยก
เว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีจะเปิดเผยตนเอง
ออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติ
ไว้ และไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่
ทรงบัญญัติไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่เราไม่ได้บัญญัติ
และไม่พึงเพิกถอนสิ่งที่เราบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่เรา
บัญญัติไว้ อุปเสนะ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้ามาเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
[๕๖๖] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เพราะตั้งใจว่า “พวก
เราจะให้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์” ครั้นท่านพระอุปเสน
วังคันตบุตรพร้อมกับบริษัทลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประ
ทักษิณจากไป ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “ท่านทราบ
กติกาของสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ” ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า “แม้พระผู้มี
พระภาคก็ตรัสเช่นนี้กับผมอย่างนี้เหมือนกันว่า ‘อุปเสนะ เธอรู้กติกาของสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีหรือ’ ผมก็ทูลตอบว่า ‘ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบกติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถี
พระพุทธเจ้าข้า’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อุปเสนะ ก็กติกาที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถีทำไว้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่พระองค์เดียวตลอดไตรมาส ใคร ๆ
อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารไปถวาย ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์’ ผมก็กราบทูลว่า ‘พระสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีจะเปิดเผยตนเองออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่
พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจะไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะ
สมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้’ ท่านทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้แล้วว่า ‘ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็น
วัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวจริง พระ
สงฆ์ไม่ควรบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ไม่ควรเพิกถอนสิ่งที่
พระองค์ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้”
{๙๓}ภิกษุทั้งหลายพอทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่
ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก”
จึงปรารถนาเข้าเฝ้า ได้ละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์
และบังสุกูลิกธุดงค์ A
ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมภิกษุจำนวนมากเสด็จประพาสตามเสนาสนะ
ทอดพระเนตรเห็นสันถัตถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สันถัตที่ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ เป็นของใคร” ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูล
เรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
เชิงอรรถ
A “อารัญญิกธุดงค์” คือข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสของผู้ถืออยู่ในป่า
ห่างจากหมู่บ้านอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนูคือประมาณ ๒๕ เส้น (ดูข้อ ๖๕๔ หน้า ๑๗๔)
“บิณฑปาติกธุดงค์” ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่รับนิมนต์
“ปังสุกุลิกธุดงค์” ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่รับถวายจีวร

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.