01-556 สิกขาบทวิภังค์



พระไตรปิฎก


สิกขาบทวิภังค์
{๖๐๑} [๔๑๙] คำว่า ก็…ภิกษุนั้น คือ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น
คำว่า ภิกษุ คือ มีภิกษุเหล่าอื่น
คำว่า ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร พอใจอย่างไร
และชอบใจอย่างไร แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เห็นอย่างนั้น พอใจอย่างนั้นและชอบใจ
อย่างนั้น
คำว่า กล่าวสนับสนุน คือ ดำรงอยู่ในพวก ในฝ่ายของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น
คำว่า ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป ความว่า มีภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป หรือ ๓ รูป
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกท่านอย่าว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น ภิกษุนั้นกล่าว
สิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นกล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ภิกษุนั้นกล่าวตามความพอใจและชอบใจ
ของพวกเรา เธอทราบความพอใจและความชอบใจของพวกเราจึงกล่าว พวกเรา
เห็นด้วยกับคำนั้น”
{๖๐๒} คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
อธิบายว่า ภิกษุผู้ได้เห็น ผู้ได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุผู้ประพฤติตาม
เหล่านั้นว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุ
นั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่านอย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจง
พร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน
ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวก
เธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุ
ทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ว่ากล่าวตักเตือนว่า “พวกท่านอย่ากล่าวอย่าง
นั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ภิกษุนั้นไม่ใช่ผู้กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย พวกท่าน
อย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ พวกท่านจงพร้อมเพรียงกับสงฆ์ เพราะสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียง ปรองดอง ไม่วิวาท มีอุทเทสเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก” พึงว่ากล่าวตักเตือน
พวกเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุเหล่านั้นสละได้
นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุเหล่านั้น
วิธีสวดสมนุภาสน์ และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
{๖๐๓} ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า
[๔๒๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้
ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่า
นั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และ
ชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม
กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อนี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่อง
นั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ ประพฤติตาม กล่าวสนับสนุนภิกษุชื่อ
นี้ผู้เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ
สวดสมนุภาสน์ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุทั้งหลายชื่อนี้และชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็น
ด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
{๖๐๔} [๔๒๑] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพวกเธอต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง) เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง) เพราะกรรมวาจา
๒ ครั้ง ย่อมระงับไป
สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุ ๒-๓ รูปคราวเดียวกัน ไม่พึงสวดสมนุภาสน์
ภิกษุมากกว่านั้นคราวเดียวกัน
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.